วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน


การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในธุรกิจ




ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้มักคุ้นเคยกับคำว่า “คอมพิวเตอร์” อยู่เสมอ เช่นตรวจความดันด้วยคอมพิวเตอร์ อัดรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โรงเรียนคอมพิวเตอร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ การฝาก-ถอนเงินด้วยคอมพิวเตอร์ ฯลฯ แม้แต่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารของหน่วยงานมากขึ้น เช่น ในหน่วยงานธุรกิจมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานด้านบุคลากร งานบัญชี การพยากรณ์ยอดขาย ฯลฯ ในโรงงานอุตสาหกรรมได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยควบคุมการออกแบบและการผลิตสินค้าในโรงงาน เป็นต้น
 การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ
 ระบบสารสนเทศ หมายถึง การนำกระบวนการของระบบคอมพิวเตอร์ อันประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ , ซอฟท์แวร์, การจัดการฐานข้อมูลและเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร มาใช้ในการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทสเพื่อสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพ ในการทำงาน หรือการตัดสินใจของผู้บริหารด้านต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบในด้านการค้าและคุณภาพชีวิตของประชากรในสังคม ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานด้านต่าง ๆ ดังนี้
 ด้านข่าวสารข้อมูล
 ในเว็ปไซต์ต่าง ๆ มักมีการนำเสนอข่าวที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ผู้ใช้บางคนไม่มีเวลาซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่าน เพื่อติดตามข่าวสารบ้านเมืองหรือข่าวคราวทั่ว ๆ ไป ทั้งในและต่างประเทศก็สามารถหาข่าวสารต่าง ๆ ที่ต้องการได้จากเว็ปไซต์มากมายในอินเตอร์เน็ท หรือแม้แต่การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบจากเว็ปไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูล หรือแม้แต่ผู้ใช้อยากทราบดวงชะตา , การท่องเที่ยว, อุณหภูมิ, ลักษณะดินฟ้าอากาศ, การเมือง, การค้า ฯลฯ ก็สามารถหาดูได้จากเว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องได้
 การทำธุรกิจ
 ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาทำธุรกิจบนระบบอินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเรียกว่า E-Commerce โดยผู้ขายจะสร้างเว็ปไซต์ที่แสดงรายการสินค้าที่มีอยู่พร้อมราคาหรืออาจแสดงรูปแบบของสินค้าเพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจซื้อ เมื่อลูกค้าเข้าไปในเว็ปไซต์ที่มีการเสนอขายสินค้าและต้องการซื้อสินค้าดังกล่าวก็จะทำการสั่งซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตดังกล่าว ซึ่งการจ่ายเงินในธุรกิจ
 จะชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านทางธนาคาร จ่ายทางpaysbuy จ่ายทางpaypal หรือ โดยผ่านบัตรเครดิตซึ่งเมือผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าแล้วต้องแจ้งรหัสบัตรเครดิตรวมทั้งชื่อบัตรเครดิตเพื่อให้ผู้ขายได้ตรวจสอบจำนวนเงินและคุณสมบัติไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินต้นสังกัดของผู้ถือบัตรเครดิตนั้นว่าเพียงพอสำหรับค่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นหรือไม่ถ้ามีก็จะทำการจัดส่งสินค้าไปให้และแจ้งไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินต้นสังกัดเพื่อให้ตัดยอดเงินในบัตรเครดิตนั้นการทำธุรกิจในลักษณะนี้ก็ยังก่อให้เกิดธุรกิจอีกประเภทหนึ่งบนอินเตอร์เน็ท คือ การทำธุรกิจระบบ E-Banking ซึ่งทำให้การซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ทมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเฉพาะในปัจจุบันชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศสามารถที่จะเข้าเวปไซต์ของ ร้านค้า ต่าง ๆ เช่นร้านขายดอกไม้เพื่อสั่งซื้อดอกไม้ให้เพื่อนหรือญาติในเมืองไทยหรือแม้กระทั่งได้รับข่าวคราวการเสียชีวิตของญาติมิตรก็สามารถสั่งซื้อพวงหรีดจากเวปไซต์หรือแม้กระทั่งได้รับข่าวคราวการเสียชีวิตของญาติมิตรก็สามารถสั่งซื้อพวงกรีดจากเวปไซต์เพื่อให้นำไปส่งยังงานศพของญาติมิตรได้อีกด้วยนับว่าเป็นการส่งข่าวหรือส่งความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ ให้แก่กันได้อย่างง่ายดาย
 ในปัจจุบันนักธุรกิจบางคนหรือพนักงานบริษัทก็สามารถทำงานอยู่ที่บ้านผ่านอินเตอร์เน็ทโดยไม่ต้องเดินทางมาทำงานที่บริษัท เพื่อเป็นการประหยัดเวลาได้อีกทางหนึ่งด้วย
 ด้านการติดต่อสื่อสาร
 การติดต่อสื่อสารในอินเตอร์เน็ทกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะผู้ที่มีบุตร-หลาน ญาติ-พี่น้องอยู่ที่ต่างประเทศสามารถที่จะนัดคุยกัน ผ่านอินเตอร์เน็ทได้โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่าโทรศัพท์ทางไกล
 สำหรับผู้ที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาหรือผู้ที่อยู่ในวัยรุ่นต้องการเพื่อนใหม่ก็สามารถที่จะ Chat เข้าไปคุยกับเพื่อใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และทัศนคติจาเพื่อนใหม่ได้หรือบริการยอดฮิตของกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบัน อีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้บริการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ทโดยส่งข้อความทางมือถือ ส่งอีเมล์กันอย่างกว้างขวาง เป็นต้น
 ด้านการบันเทิง
 ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติในการสื่อผสมเช่นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีการนำคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล การสร้างภาพยนต์โดยนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการสร้างภาพกราฟฟิกต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์เรื่องไดโนเสาร์ที่เป็นที่ฮือฮากันมากในยุคหนึ่ง กล่าวคือผู้สร้างภาพยนต์มีการนำคอมพิวเตอร์ไปช่วยในการสร้างภาพกราฟิกให้เคลื่อนไหวได้เหมือนจริงเพื่อให้เป็นตัวแสดงในภาพยนต์ หรือการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในการ ตัดต่อวิดีโอหรือ ภาพยนต์หรือแม้แต่การสร้างงานด้าน Presentation ที่ใช้ทั้งภาพและเสียงประกอบกัน การสร้างภาพยนต์ลงในแผ่นซีดี ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านดนตรีโดยนำคอมพิวเตอร์ควบคุมจังหวะและทำนองของดนตรี การจัดทำคาราโอเกะ ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถนั่งชมภาพยนต์และฟังเพลงจากซีดีที่บ้านได้
 นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านบันเทิงต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ท เช่น เกมส์, เพลง และภาพยนต์ เป็นต้น
 งานเก็บเอกสาร ข้อมูล
 คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยลดภาระให้กับบุคลากรในการเก็บเอกสารเป็นอย่างมากเราสามารถที่จะใช้แผ่นดิสเก็ตเก็บข้อมูลในตู้เอกสาร 1 ตู้ได้อย่างเป็นระเบียบและถูกต้องได้ทั้งหมด และเมื่อต้องการ ค้นหาเอกสารก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย รวมทั้งประหยัดเนื้อที่และบุคลากรในการเก็บเอกสารได้ด้วย
 งานด้านเอกสารการพิมพ์
 คอมพิวเตอร์สามารถช่วยงานด้านเอกสารได้ดีเพราะเราสามารถกำหนดรูปแบบขนาดของตัวอักษรได้สามารถจัดรูปแบบในการพิมพ์ให้ตรงกันได้ช่วยให้งานด้านเอกสารการพิมพ์มีรูปแบบที่สวยงาม ลดการซ้ำซ้อนของการพิมพ์ได้ เช่น การออกหนังสือเวียนที่มีข้อความเหมือนกัน เพราะคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำงานซ้ำ ๆ กันได้หลาย ๆ ครั้งตามที่ผู้ใช้ต้องการ
 งานด้านการแพทย์
 ในปัจจุบันอัตราการเจ็บป่วยของคนเราเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งชนิดต่าง ๆ ของโรคก็เพิ่มมากขึ้นด้วยทำให้นายแพทย์ต้องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวินิจฉัยโรค เพราะนายแพทย์จะไม่สามารถจดจำอาการของโรคต่าง ๆ ได้ทั้งหมดจึงต้องนำข้อมูลของคนไข้เก็บไว้ในเครื่องแล้วให้เครื่องทำการเปรียบเทียบอาการของโรคต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยทั้งหมดตามที่เก็บไว้ในเครื่องว่าเป็นอาการของโรคใด เครื่องก็จะให้รายละเอียดต่าง ๆ ของโรคที่ได้เก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องมาใช้ในการวินิจฉัยและตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ได้ผลถูกต้องแม่นยำขึ้น
 งานด้านเวชระเบียน 

 เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเตียงผู้ป่วยว่ามีจำนวนเท่าใด มีเตียงว่างหรือไม่ และเตียงนั้นอยู่ที่ตึกใด ชั้นใดนอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บและค้นหาประวัติผู้ป่วยให้เป็นระเบียบและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นรวมทั้งช่วยเก็บสถิติการเกิด การตาย การเป็นโรคต่าง ๆ โดยอาจจำแนกเป็นเขตต่าง ๆ เพื่อดูแนวโน้มสถิติการใช้บริการด้าน สามารถสุข สำหรับวางแผนการให้บริการด้านสาธารสุขและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคต่าง ๆ เพื่อวางแผนป้องกันได้ทันเวลา
 คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งจะใช้จัดเก็บชนิดของยา จำนวนยาที่มีอยู่พร้อมทั้งการควบคุมการเบิกจ่ายยาช่วยตัดสต๊อกให้เมื่อมีการเบิกจ่ายยา นอกจากนี้ยังช่วยงานด้านการจัดซื้อ เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่ายาอะไรที่เหลือน้อยต้องสั่งเพิ่ม จะช่วยให้สามารถซื้อยาได้ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลช่วยตัดสินใจทำให้ปัญหาที่ยาคงคลังมีมากหรือน้อยเกินไปนั้นหมดไป อีกทั้งยังมีข้อมูลเพื่อให้ประกอบในการควบคุมคุณภาพของยาหรือการจำหน่ายยาที่หมดอายุออกจากสต๊อก
 งานด้านอุตสาหกรรม
 คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตในด้านคุณภาพโดยนำข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาคำนวณเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานที่วางไว้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราได้มาตรฐานหรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมให้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ควบคุมอุณหภูมิ ฯลฯ การควบคุมกระบวนการผลิตนี้มีผลให้เพิ่มผลผลิต ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย
 งานด้านการออกแบบ
 คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยในการเลือกรูปแบบของงานให้กับวิศกรได้เป็นอย่างดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยการใช้เครื่องป้อนข้อมูลเข้า/ออก ด้วยการใช้กราฟิกจากจอโดยใช้ปาก Light Pen เขียนลายบนจอ ทำให้วิศวกรสามารถออกแบบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งตรวจสอบความปลอดภัยจากการออกแบบสินค้านั้น ๆ เช่น ในการออกแบบรถยนต์นั่ง ผู้ออกแบบและผู้ผลิตต้องทำการตรวจสอบว่าการออบแแบบโครงสร้างของรถยนต์ตามที่ได้กำหนดไว้เมื่อนำไปใช้จริงจะมีความปลอดภัยเพียงใด ผู้ออกแบบสามารถใช้คอมพิวเตอร์สร้างสถานการณ์จำลองในการใช้รถยนต์ โดยอาจทดลองให้รถใช้ความเร็วสูง และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขั้นจะมีอันตรายอย่างไรบ้าง ถ้ามีจุดบกพร่องจะได้ ทำการแก้ไขให้สินค้าที่ออกแบบนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุด
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานการศึกษา




ประวัติของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานการศึกษา

          ประวัติของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานการศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ พัฒนาการของระบบช่วยสร้างบทเรียนในต่างประเทศ และพัฒนาการของระบบช่วยสร้างบทเรียนในประเทศไทย โดยมีประวัติดังนี้ (กฤษดา เพ็งอุบล, 2542, หน้า 3-5)

พัฒนาการของระบบช่วยสร้างบทเรียนในต่างประเทศ

          ในต่างประเทศการพัฒนา CAI ภาษาสร้างบทเรียน และระบบช่วยสร้างบทเรียนที่มีส่วนสัมพันธ์กัน ดังนั้นการกล่าวถึงพัฒนาการของระบบช่วยสร้างบทเรียนในต่างประเทศจำเป็นจะต้องกล่าวถึงการพัฒนา CAI ภาษาสร้างบทเรียนควบคู่กันไป

          ปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ภายใต้การนำของ Patrick Suppes ได้จัดโครงการให้ครูประถมศึกษาใช้ computer based teaching device ในการสอนประจำวัน โครงการนี้ประกอบด้วยการฝึกทักษะและทำแบบฝึกหัด ทางคณิตศาสตร์ โดยเริ่มจากครู 1 คน กับนักเรียน 42 คน แล้วขยายเป็นธุรกิจการผลิต courseware ขณะเดียวกันบริษัท IBM--International Business Machines ได้มีการพัฒนาภาษาสร้างบทเรียนเป็นภาษาแรกชื่อ TIP--Translator for Interactive Program เพื่อให้กับเครื่อง IBM 650 และที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้พัฒนาภาษา CATO--Compiler for Automatic Teaching Operation เพื่อใช้กับระบบช่วยสร้างบทเรียนที่ชื่อ PLATO--Program Logic for Automation Teaching Operation สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ของบริษัท CDC--Control Data Corporation ภายใต้การนำของ Donald Bitzer

          ต่อมาภาษา TIP ได้วิวัฒนาการเป็นภาษา Coursewriter ซึ่งมีการจัดแบ่งเนื้อหาเป็นกรอบ (frame oriented) แต่ละกรอบประกอบด้วย คำสอน คำถาม คำตอบ และการแตกแขนงการดำเนินงานไปยังส่วนต่าง ๆ หลังจากนั้น Coursewriter ได้ผ่านการปรับปรุงอีกหลายครั้ง และถูกนำมาใช้สำหรับการเขียนเนื้อหาบทเรียนของระบบ IBM 1500 ที่ผู้ใช้สามารถพัฒนาเนื้อหาบทเรียนของตนเองได้ ภาษา CATO แตกต่างจาก Coursewriter ตรงที่ได้กำหนดกลุ่มคำสั่งพื้นฐานไว้กลุ่มหนึ่ง ที่รับการกดคีย์ที่ทำหน้าที่พิเศษบางอย่าง เช่น "help", "back" และ "lab" เป็นต้น

          ต่อมา CATO ได้พัฒนาเป็นภาษา TUTUR ซึ่งได้นำเอาลักษณะการจัดเนื้อหาเป็นกรอบของภาษา Coursewriter มาใช้โดยยังคงส่วนที่มีประสิทธิภาพของ CATO ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อนำไปใช้กับ PLATO จึงเป็นระบบที่ชื่อเสียงเจริญเติบโตใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายที่มีความสามารถสูง เนื้อหาการสอนทั้งหมดพัฒนาโดยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทั้งที่ทำงานเป็นส่วนตัว เป็นกลุ่มย่อยและเป็นกลุ่มใหญ่โดยมืออาชีพ ทั้งนี้ ด้วยความสนับสนุนของรัฐและบริษัท CDC และนำไปจัดจำหน่ายโดยบริษัท CDC

          ปี ค.ศ. บริษัท System Development ได้พัฒนาภาษาสร้างบทเรียนชื่อ PLANIT--Program LANguage for Interactive Teaching โดยเริ่มต้นใช้กับเครื่อง Q-32 และต่อมาใช้แพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM/360, UNIVAC1108, CDC 6400, PCP-11 และ VAX เป็นต้น

          ปลายทศวรรษที่ 60 ที่มหาวิทยาลัยแอลเบอร์ต้า ได้มีการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ที่นับได้ว่าเป็นระบบช่วยสร้างบทเรียนระบบแรก ชื่อ VAULT--A Versatile Authoring Language for Teacher พัฒนาด้วยภาษา PL/1 บนเครื่อง IBM 1500 VAULT เป็นระบบที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถนำความคิดแยกส่วนที่เป็นโปรแกรมควบคุมออกจากส่วนที่เป็นเนื้อหาบทเรียน ซึ่งความคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในอีกหลายระบบในเวลาต่อมา

          ปี ค.ศ. 1971 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และ MITRE Corporation ได้ให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยบริกแฮมยัง และมหาวิทยาลัยเท็กซัสเพื่อให้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบช่วยสร้างบทเรียนชื่อ TICCIT--Time-shared Interactive, Computer Controlled Information Television ใช้กับเครื่องไมโคร-คอมพิวเตอร์ เป็นระบบที่เอาแนวความคิด การแยกส่วนโปรแกรมควบคุมออกจากส่วนเนื้อหาของ VAULT มาใช้ในการพัฒนาโดยเอาคำสั่งควบคุมเก็บไว้ในระบบแล้วผนวกคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ ผู้สอนเพียงบรรจุเนื้อหาเข้าไปเท่านั้น มีทีมนักออกแบบบทเรียนอาชีพและโปรแกรมเมอร์ช่วยกันผลิต Courseware ในระยะเริ่มต้น ใช้กับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วขยายต่อไปภายหลัง

          ช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา CAI และระบบช่วยสร้างบทเรียนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีโครงการวิจัยหลายโครงการเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ใน การสอนทั้งในภาคเอกชนและในมหาวิทยาลัย แต่อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ พัฒนาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน ใช้ภาษาต่าง ๆ กัน และมีปรัชญาการศึกษาเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกัน ดังนั้น แม้ว่าบางโครงการจะพบความสำเร็จก็มิอาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงการที่ได้มาตรฐาน ประกอบกับมีอุปสรรคเกี่ยวกับขีดความสามารถ และราคาที่แพงมากของเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยนั้นด้วย ปัจจุบันเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ราคาถูกลงและมีขีดความสามารถที่สูงขึ้น นักการศึกษาและนักคอมพิวเตอร์จึงหันมาสนใจพัฒนาปรับปรุงระบบช่วยสร้างบทเรียนที่มีคุณภาพสูงบนไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อผลประโยชน์ทางการศึกษาและผลประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น ระบบช่วยสร้างบทเรียนในต่างประเทศมีหลายระบบ แต่จะกล่าวถึงเพียงบางระบบที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น

          ระบบช่วยสร้างบทเรียน PLATO จัดว่าเป็นระบบช่วยสร้างบทเรียนที่มีความสามารถสูง มีระบบจอสัมผัส (Touch Sensitive Screen) เพื่อให้ผู้เรียนโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องใช้คีย์บอร์ด คุณภาพของกราฟิกอยู่ในระดับสูง เป็นระบบที่ออกแบบไว้สำหรับผู้สอนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่ต้องมีการเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกพอสมควร และได้มีการพัฒนา Micro PLATO ที่สามารถนำเสนอบทเรียนคอนโทรลดาต้า-ไมโครคอมพิวเตอร์จาก PLATO Course บนแผ่นดิสก์ได้ บริษัท CDC เป็นผู้จัดจำหน่าย Micro TICCIT เป็นระบบช่วยสร้างบทเรียนที่ทีมของนักจิตวิทยาการศึกษาทำหน้าที่สร้างบทเรียนนำเสนอ และบริหารบทเรียน โดยใช้เครื่อง Data General Eclipse Microcomputer เป็น Host มี IBM PC เป็นสถานีทำงาน จอสีโซนี่ และแป้นพิมพ์สำหรับใช้กับ TICCIT โดยเฉพาะระบบประกอบด้วยกราฟิกที่มีคุณภาพสูง วีดิโอดิสก์ และวีดิโอเทป มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางปากกาแสง หรือสัมผัสจอภาพ นอกจากเหมาะกับการสอนทางวิชาการแล้ว ยังสามารถสร้างสถานการณ์จำลองระบบที่ซับซ้อน เช่น โรงงาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า การบิน โทรคมนาคม และอุปกรณ์ทางทหาร เป็นต้น บริษัท Training Technology จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่าย PILOT เป็นระบบช่วยสร้างบทเรียนที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้หลายชนิด รวมทั้ง APPLE II ผู้ใช้สามารถใช้ภาษา VASIC เพื่อทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้เองในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะไม่มีการจัดทำเอกสารคู่มือที่ครบถ้วน แต่บางระบบมีเอกสารคู่มืออย่างดี เช่น Apple Super PILOT เป็นระบบที่สนับสนุนการใช้กราฟิกของ Apple II สามารถให้เสียง แสดงภาพเคลื่อนไหว ควบคุมวีดิโอเทป และวีดิโอดิสก์ได้ด้วย โดยทั่วไป PILOT เป็นที่พอใจของผู้ใช้ตามสมควรในระดับงานเล็ก ๆ

          VITAL--Videotext Integrated Teaching and Learning เป็นระบบช่วยสร้างบทเรียนของมหาวิทยาลัยเกวลในประเทศแคนาดา ประกอบด้วยส่วนสร้างเนื้อหาบทเรียนรวมทั้งกราฟิก ส่วนนำเสนอเนื้อหา ส่วนสร้างข้อสอบที่สุ่มมาจากคลังข้อสอบ และส่วนของการเก็บข้อมูล เชิงวัดผล การสร้าง Courseware
          นอกจากนี้ยังมีการพัฒ
นาระบบช่วยสร้างบทเรียนอื่น ๆ อีกหลายระบบ เช่น
          Microtech สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ Cubic 99 ที่ประเทศสิงคโปร์
          CAI ES100 สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ ES100 ที่ประเทศญี่ปุ่น
          Osmiroid สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ BCC ที่ประเทศอังกฤษ
          CAICAS สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ Apple และ IBM ที่มหาวิทยาลัย USM ของประเทศมาเลเซีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น