วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การติดตั้งปั้มน้ำอัตโนมัติ


วิธีติดตั้งปั๊มน้ำ ภาคเจาะลึกเทคนิค วิธีการที่อาจพลาดได้ง่ายๆ
งดถาม-งดตอบที่หน้านี้แล้วนะครับ

ยาวแล้ว



ขอบคุณทุกท่านครับ






การเดินท่อที่มีขนาดเล็กกว่ารู โดยใช้ข้อลดหรือลดเหลี่ยม จะมีผลทำให้ปริมาณไหลของน้ำน้อยลง แรงดันน้ำในท่อก็จะตกโดยเร็วทำให้ที่ปลายทางน้ำจะเบากว่าที่ควร



เช็ควาวล์คือวาวล์น้ำไหลทางเดียว(สังเกตลูกศร)


ที่C1มีไว้เพื่อป้องกันน้ำที่ไหลขึ้นที่สูงๆแล้วไหลย้อนกลับลงมาทันทีเมื่อปิดปั๊ม หรือเรียกว่าค้อนน้ำ จะทำให้วาวล์ในตัวปั๊มชำรุดเสียหายได้ในระยะยาว
กรณีบ้านชั้นเดียวไม่ต้องใส่C1
ในปั๊มบางยี่ห้อ บางรุ่น ในตัวปั๊มอาจจะมีเช็ควาวล์มาแล้วก็ได้






รูปบน-น้ำออก
รุปล่าง-น้ำเข้า
เช็ควาวล์นั้น ควรขันต่อข้อต่อตรงเกลียวนอกทั้ง2ด้านที่ข้างนอกก่อน
ที่ข้อต่อตรงเกลียวนอก ให้พันเทปพันเกลียวที่เกลียวนอก25-30รอบ ตอนพันต้องดึงเทปให้ตึงไว้ตลอดเวลาด้วย จะเห็นเทปหนามาก ไม่ต้องกลัวใส่เข้าได้แน่นอน

จับข้อต่อตรงเกลียวนอกที่พันเทปเรียบร้อยแล้ว ต่อเข้ากับเช็ควาวล์ ระวังอย่าให้ปีนเกลียว โดยที่ตัวเช็ควาวล์นั้นต้องยึดกับประแจอีกตัวหรือปากกาไว้ ขันต่อให้ส่วนในของเกลียวเข้าไปยันกับทองเหลืองที่ขวางอยู่ในรูป ต้องคอยเล็งให้ดี ขันตื้นไปน้ำก็ซึมได้ ขันลึกไปทองเหลืองที่ขวางอยู่ในรูปบน ก็จะกัดปลายข้อต่อตรงเกลียวในให้เข้าไปขัดกับสปริงจนเช็ควาวล์ไม่ทำงานได้

ขันข้อต่อตรงเกลียวนอกเข้ากับเกลียวในทั้ง2ข้างของเช็ควาวล์
เสร็จเรียบร้อยแล้วลองเป่าลมทางด้านรูปล่าง ถ้าลมผ่านได้ ก็แสดงว่าเช็ควาวล์ทำงานปกติดี

ทีนี้ก็ต่อกับท่อในไลน์ได้




รูป ข้อต่อตรงเกลียวนอก


วาวล์เปิดปิดทุกตัวที่ใช้ ควรใช้เป็นบอลวาวล์ ปกติจะเป็นแบบก้านปิดเปิด จะทำให้เห็นสถานะการทำงานได้ง่ายๆ

*กรณีถังน้ำอยู่ต่ำกว่าปั๊ม ที่ท่อด้านInlet ควรต่อสามทางชี้ขึ้น แล้วใส่วาวล์ปิดเปิดไว้ตัวหนึ้งที่ปลาย ให้ปลายสูงกว่าปั๊มนิดนึง เพื่อจะได้ล่อน้ำให้ปั๊มตอนปั๊มเริ่มทำงานครั้งแรกได้ง่ายขึ้น (รูปไดอะแกรมแบบนี้ ดูได้จากของเก่า)


หลังจากติดตั้งปั๊มน้ำเสร็จ ควรตั้งระดับลูกลอยในถังชักโครกใหม่ด้วย น้ำแรงจะทำให้ก้านลูกลอยขึ้นสูงโดยอัตโนมัติ จนทำให้น้ำล้นได้

รูปถังน้ำที่แนะนำ ให้คลิ๊กไปที่Blogก่อนหน้านี้ ไม่อยากใส่รูปมากโดยไม่จำเป็น จะทำให้การเข้าBlogช้า

เทคนิคการต่อท่อPVC ใช้กาวท่อน้ำไทยเท่านั้น ทาที่ข้อต่อท่อด้านใน และที่ท่อด้านนอก จับสวมใส่เข้าด้วยกันให้สุด กดไว้10วินาที แล้วค่อยปล่อย ทั้งนี้ ดูรายละเอียดที่Blogด้านซ้ายมือเช่นกัน

การพันเทปพันเกลียวกับเกลียวข้อต่อต่างๆอื่นๆนั้น ควรพันให้หนาไว้และดึงให้ตึงเวลาพัน ที่ข้อต่ออื่นๆนั้น พันสัก15-20รอบ ถือว่ากำลังดี แต่ก่อนเราพันน้อย น้ำซึมให้ต้องรื้อ ข้อสำคัญเวลาใส่ประกอบ ต้องจับให้ตรง





รูป คีมตัดท่อ ล่าสุดไปซื้อที่"อมร"แบบเดียวกัน ตัวละ90บาท ของจีน สภาพใช้ได้





รูปประแจที่บางจุดจำต้องใช้ จะใช้แบบไหนก็ได้ เช่นขันต่อเช็ควาวล์



อ้าว ถึงว่า มีคนมาเยี่ยมน้อย ดันลืมแก้ไขตรงโพส"เฉพาะสมาชิก"
ขอโทษทุกท่านที่มาเยือน แล้วเม้นต์ไม่ได้ทุกท่านครับ


ถามเรื่องท่อ ปั๊ม ถังได้ที่นี่ ตรงนี้เลย เชิญครับเชิญ



รูปไดอะแกรมสวยๆ




รูปปั๊มที่แนะนำ

INVERTER

ระบบอินเวอร์เตอร์ INVERTER





ระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter)คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งจาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรนและนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร ใน การทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน
ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง

ประหยัดไฟได้อย่างไร เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอิน เวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น

ต่างกับระบบเดิมตรงไหน นอก จากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว

คุณสมบัติเด่น แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter

1.ประหยัดไฟกว่า 20 -30 % เนื่องจากระบบคอมเพรสเซอร์ทำงานลดรอบ (ความถี่) หลักการทำงาน เช่น แอร์บ้าน 12000 BTU พอห้องเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ระบบจะลดรอบการทำงานลงจะทำความเย็น อยู่ที่ 3000 BTU เท่านั้น เป็นการประหยัดไฟมาก

2.เย็นเร็วทันใจ ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ตอนเปิดเครื่องแรกๆ คอมเพรสเซอร์จะทำงานในรอบสูงสุด คือเท่าคอมย็นที่ 110% เช่น แอร์บ้าน ขนาด 12000 BTU จะทำความเย็นสูงสุดประมาณ 13500 BTU จะทำให้ห้องเย็นเร็วทันใจกว่า

3.รักษาอุณหภูมิห้องได้คงที่ การที่ระบบ อินเวอร์เตอร์ Inverter ทำงานต่อเนื่องโดยการเพิ่มหรือลดรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์ไม่มีหยุดเป็นช่วงๆ ทำให้อุณหภูมิจะนิ่งมาก รักษาอุณหภูมิได้คงที่กว่าไม่รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนระบบ แอร์บ้านธรรมดา

4.เสียงของเครื่องทำงานเงียบกว่า
 เนื่องจากคอมเพลสเซอร์มีการลดรอบการทำงาน ดั้งนั้นตอนที่ห้องเย็นดีแล้วคอล์ยเย็นและระบบฉีดน้ำยาจะลดเสียงการทำงานทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเงียบกว่า แอร์บ้าน รุ่นธรรมดา

5.อากาศสดชื่นกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ระบบรุ่นธรรมดา เวลาคอมเพรสเซอร์ตัด อากาศในห้องจะมีกลิ่นอับชื้น แต่ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter คอมเพรสเซอร์ไม่ตัดจะเป็นการลดรอบความเย็น จะไม่มีกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสดชื่นตลอดการใช้งาน

6.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับน้ำยาตัวใหม่ R410A ไม่ทำลายชั้นโอโซชั้นบรรยากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบนี้ ปี 2555 จะมีข้อบังคับในการใช้น้ำยาตัวใหม่ R410A สำหรับแอร์บ้านทุกเครื่อง ดั้งนั้นจะพูดได้ว่า แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เป็นแอร์อนาคต ที่ผู้บริโภคเลือกแล้วได้ประโยชน์คุ้มสุด

หมายเหตุ การตัดและเริ่มสตาร์ทของคอมเพรสเซอร์สำหรับแอร์บ้าน ระบบธรรมดา ช่วงออกตัวจะกินไฟสูงกว่าถึง 200 - 300 %

การเปรียบเทียบค่าไฟระหว่าง ระบบ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) กับ ระบบธรรมดา ประหยัดกว่า 20-30%

ระบบขนาด BTUมาตรฐานการทำงาน/วันค่าไฟ/เดือนค่าไฟ/ปีประหยัด/ปีเมื่อเทียบกับ10ปีประหยัดกว่า
ธรรมดา
9000b58 ชั่วโมง670 ฿7,500-8,000 ฿2,040 ฿20,400 ฿26%
INVERTER
2700 - 10900b58 ชั่วโมง500 ฿6,000 ฿
ธรรมดา
13000b58 ชั่วโมง920 ฿10,000-11,00 ฿3,000 ฿30,000 ฿28%
INVERTER
2900 - 13600b58 ชั่วโมง670 ฿8,000 ฿
ธรรมดา
18000b58 ชั่วโมง1,460 ฿16,500-17,500฿4,560 ฿45,600 ฿26%
INVERTER
3000 - 20500b58 ชั่วโมง1,080 ฿13,000 ฿
ธรรมดา
23000b58 ชั่วโมง1,750 ฿19,000-21,000฿6,000 ฿60,000 ฿30%
INVERTER
3000 - 24200b58 ชั่วโมง1,250 ฿15,000 ฿
B